สุข 4 แบบ ค้นพบตัวเอง หาความสุขที่สมดุล

นักจิตวิทยาชาวเนเธอร์แลนด์คนสำคัญชื่อ วีนโฮเฟ่น (Veenhoven) ให้นิยาม ‘ความสุข’ ว่าอยู่ที่การประเมินของแต่ละคนว่าชื่นชอบชีวิตโดยรวมของตนเองมากแค่ไหน การบอกว่าเรามีความสุข จึงหมายถึงรู้สึกชอบหรือพึงพอใจกับชีวิตเรานั่นเอง
ด้วยตระหนักถึงความสุขในการทำงานและความสุขในการใช้ชีวิตของ Sports Team บริษัท มาสเตอร์ สไตล์ จำกัด (มหาชน) (MASTER) โดย หมอเส – นายแพทย์ระวีวัฒน์ มาศฉมาดล และ คุณดาว – ลภัสรดา เลิศภานุโรจ ประธาน และรองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท มาสเตอร์ สไตล์ จำกัด (มหาชน) (MASTER) ในนามโรงพยาบาลมาสเตอร์พีช โรงพยาบาลศัลยกรรมครบวงจรชั้นนำของไทยและเอเชีย จัดอบรมหลักสูตร ‘สุข 4 แบบ ค้นพบตัวเอง หาความสุขที่สมดุล’ โดยมีวิทยากรคือ อาจารย์รณสิงห์ รือเรือง นักจิตวิทยาคลินิก ระดับชำนาญการพิเศษ สถาบันพัฒนาการเด็กราชนครินทร์ จังหวัดเชียงใหม่ โดยครั้งนี้เป็นการอบรมให้กับ Key Persons ของ MASTER

ในคลาสชวนพูดคุยถึงความสุขที่มีอยู่ด้วยกัน 4 ระดับ คือ
- สุขจาก Serotonin มีสุขภาพดี ใช้ชีวิตตามธรรมชาติ/ สัญชาตญาณ มีการพักผ่อนและสร้างสมดุลชีวิตจากการทำกิจวัตรประจำวันอย่างสม่ำเสมอ
- สุขแบบ Oxytocin มีการพึ่งพาและผูกพัน เป็นความสุขจากความพึงพอใจ (Pleasure) จากภายนอก เราจะรู้สึกสบาย ไม่ลำบาก แต่ความสุขระดับนี้คือการยึดตนเองเป็นศูนย์กลางจักรวาล ใช้อารมณ์ความรู้สึกผูกพันเป็นตัวแปร
- สุขแบบ Dopamine มาจากการพึ่งพาตัวเอง ทำเป้าหมายให้สำเร็จตามความต้องการ และเมื่อบรรลุเป้าหมายจึงเกิดเป็นความรู้สึกภูมิใจในความสำเร็จ
- สุขแบบ HERO เป็นความสุขแบบ Dopamine และ Oxytocin รวมกัน สุขจากการที่ตัวเรามีความสามารถมากกว่าคนอื่น สามารถพึ่งพาตัวเองได้ นอกจากนี้ยังเป็นความสุขจากการได้ช่วยเหลือผู้อื่นที่อ่อนแอกว่าให้แข็งแรง


และที่น่าสนใจคือสมองส่วนอารมณ์ของมนุษย์ มักถูกกระตุ้นจากการสื่อสารเชิงลบ หรือ 4C อันได้แก่
- Critic ดุ ตำหนิ วิพากษ์วิจารณ์พฤติกรรม ทำให้รู้สึกล้มเหลว
- Control/ Command เอาชนะ สั่ง บอกให้ทำ หรือห้ามไม่ให้ทำ ควบคุมบังคับ
- Compare เปรียบเทียบ อ้างถึงบุคคลอื่น
- Complain สั่งหรือสอน บ่น พูดลอยๆ พูดเรื่องเดิมซ้ำๆ (หลายครั้ง)

จะเห็นได้ว่าทั้ง 4C ใช้ปากสื่อสารทั้งหมด ซึ่งตรงกันข้ามกับ 4R หรือขั้นตอนการสื่อสารสร้างสัมพันธภาพที่เลือกใช้ตา หู และปากในการสร้างพลังบวกและชื่นชม เพราะคนเรานั้นมีความสุขได้ง่ายๆ จาก
- Respect หาข้อดี จุดเด่น มองโลกในแง่บวก เพื่อค้นหาศักยภาพ หรือจุดเด่นของตนเองและผู้อื่น
- Relationship สร้างสัมพันธภาพที่ดี โดยเริ่มต้นง่ายๆ ด้วยการฟังเรื่องราวที่ดี ที่ภาคภูมิใจ ที่อยากพูด สร้างความเป็นพวกเดียวกัน
- Responsibility สร้างความรับผิดชอบด้วยการฝึกคิด ตัดสินใจ และลงมือทำให้สำเร็จ
- Rewards/ Reassurance ชื่นชมในความสำเร็จ ให้รางวัลจูงใจให้ทำดี เพื่อความสำเร็จอย่างต่อเนื่อง

นอกจากนี้อาจารย์รณรสิงห์ ยังพาทุกคนในคลาสไปสำรวจ Maslow’s Pyramid ที่เชื่อว่ามนุษย์เรามีพฤติกรรมและการแสดงออกจากความต้องการตามลำดับขั้น ซึ่งลำดับขั้นของความต้องการไม่จำเป็นต้องตายตัว สามารถเปลี่ยนแปลงและยืดหยุ่นได้ตามปัจจัยภายนอกและความแตกต่างระหว่างบุคคล รวมถึงพฤติกรรมต่างๆ ของมนุษย์มักจะเกิดขึ้นจากความต้องการมากกว่าหนึ่งอย่างร่วมกัน
เริ่มจากความต้องการทางกายภาพ (Physiological Needs) อันเป็นความต้องการพื้นฐานของมนุษย์ในการดำเนินชีวิต
ต้องการความปลอดภัย ความมั่นคง (Safety Needs) ความต้องการในลำดับนี้จะมีความซับซ้อนมากขึ้น มนุษย์อยากจะควบคุมและดูแลสิ่งต่างๆ ในชีวิต ดังนั้นความปลอดภัยและความมั่นคงจึงเป็นสิ่งที่สำคัญ

ความต้องการความรัก หรือการเป็นเจ้าของ (Social Needs) มีความสัมพันธ์ที่ดี ได้รับความรัก หรือรู้สึกเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่ม ความต้องการนี้เป็นความต้องการที่เกี่ยวข้องกับอารมณ์ ความรู้สึก ซึ่งเป็นความต้องการทางด้านสังคม (Social Needs) โดยที่สภาวะอารมณ์ ความสัมพันธ์เหล่านี้จะกระตุ้นให้เกิดพฤติกรรมต่างๆ ตามมา
ความเคารพ (Esteem) ความต้องการด้านความเคารพ เกิดขึ้นเมื่อความต้องการด้านอื่นๆ ได้รับการตอบสนองแล้ว ในระดับนี้เราจะต้องการความเคารพนับถือจากคนอื่น ซึ่งสามารถแบ่งออกเป็น ความต้องการที่จะเป็นใครสักคน หรือมีความภูมิใจ เกิดความความเชี่ยวชาญในทักษะต่างๆ และความต้องการที่จะได้รับการเคารพจากคนอื่น เช่น การมีชื่อเสียง ศักดิ์ศรี
ความต้องการด้านนี้ยังรวมไปถึงสิ่งต่างๆ เช่น ความรู้สึกมีคุณค่า หรือ Self-esteem เช่นกัน คนที่สามารถตอบสนองความต้องการด้านความเคารพจะมีความรู้สึกมั่นใจในความสามารถของตนเอง


และสุดท้าย การบรรลุความหมายหรือความสมบูรณ์ของชีวิต (Fulfill) เป็นสิ่งที่อยู่สูงสุดในระดับของความต้องการตามทฤษฎีของมาสโลว์ ซึ่งหมายถึงการตระหนักในความสามารถของคนๆ หนึ่ง ความต้องการที่จะเป็นในสิ่งที่คนๆ หนึ่งสามารถเป็นได้ เป็นสิ่งที่มีความเฉพาะเจาะจงเช่น คนๆ หนึ่งถูกเติมเต็มจากตัวเองในการทำบางอย่างให้ดีที่สุด เป็นการบรรลุศักยภาพของตัวเอง และพัฒนาตัวเอง
เพราะความสุขที่แท้จริงคือการหา ‘ความสุขที่สมดุล’ หลังจากจบคลาส สังเกตเห็นใบหน้าของ Sports Team ทุกคน เปื้อนรอยยิ้มเปี่ยมความสุข